เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

week 7


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ อธิบายถึงโครงสร้างของพืชผัก/ สัตว์ได้และเรียนรู้การนำพืชผัก / สัตว์ในท้องถิ่นมาทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
8 – 12 ธ.ค.
2557

โจทย์ :
โครงสร้างของพืชผัก /สัตว์
Key  Question
นักเรียนคิดว่าโครงสร้างของพืชผักและสัตว์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้าง
ของพืชผักและสัตว์เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
Wall  Thinking :  โครงสร้างของพืชผักและสัตว์
Show and Share :
 โครงสร้างของพืชผักและสัตว์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
-  กล้องจุลทรรศน์
-  พืชผักและสัตว์ในพื้นถิ่น
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นคำถามและให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของพืชผักท้องถิ่น พืชผักแต่ละชนิดมีโครงสร้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? ”
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น  เชื่อมโยงโครงสร้างของพืชผักท้องถิ่นโดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด
ใช้
- นักเรียนวาดภาพโครงสร้างของพืชผักท้องถิ่นเป็นคู่
- นักเรียนนำเสนอโครงสร้างของพืชผักและร่วมกันต่อเติมชิ้นงาน
วันอังคาร
ชง
ครูให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า  หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของสัตว์
เชื่อม
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น  เชื่อมโยงโครงสร้างของสัตว์ โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด สัตว์แต่ละชนิดมีโครงสร้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? ”
ใช้
นักเรียนวาดภาพโครงสร้างของสัตว์ท้องถิ่นเป็นคู่
วันพุธ
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ จากนั้นทุกคนช่วยกันสร้างข้อตกลงในการใช้(กล้องจุลทรรศน์)ร่วมกัน
เชื่อม
ครูให้นักเรียนนำพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นมาทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์(พี่มัธยมช่วยแนะนำการใช้งานของกล้องจุลทรรศน์)
ใช้  
นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน 
วันพฤหัสบดี
ชง 
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย” นักเรียนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม 
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
ใช้
นักเรียนลงมือทำอาหารเช่นแกงเลียง , ต้มปลา  ,ไก่อบฟาง , ปลาย่างข้าวจี่และผัดหอย
- ครู นักเรียนและผู้ปกครองรับประทานอาหารร่วมกัน
วันศุกร์
ชง
 ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ร่วมกัน
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนใน สัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin) 
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7

ชิ้นงาน
- วาดภาพโครงสร้างของพืชผักท้องถิ่น
- วาดภาพโครงสร้างของสัตว์ในท้องถิ่น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  7
ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
- การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง โครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
- การประกอบอาหารจากพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
ความรู้ :
เข้าใจ อธิบายถึงโครงสร้างของพืชผัก/ สัตว์ได้และเรียนรู้การนำพืชผัก / สัตว์ในท้องถิ่นมาทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารเช่น     แกงเลียง , ต้มปลา , ไก่อบฟาง , ปลาย่าง,ข้าวจี่และผัดหอยได้
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ที่ตนเองรับรู้ได้ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของพืชผักและสัตว์  เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม 2557 เวลา 17:50

    สัปดาห์นี้พี่ๆ ป. 4 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่น พี่ๆทุกคนได้ศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ท้องถิ่น โดยการใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าพืชผักและสัตว์มีโครงสร้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?” จากนั้นพี่ๆ วาดภาพโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่น วันต่อมาพี่ๆ นำพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นมาทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ พี่ๆ ทุกคนรู้สึกตื่นเต้น และร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นนำสัตว์ที่เตรียมมาประกอบอาหาร วันถัดมาคุณครูและพี่ๆ ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย” พี่ๆ ทุกคนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็นจากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น พี่ๆ แต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร เมนูอาหารในสัปดาห์นี้คือ แกงเลียง ต้มปลา ไก่อบฟาง ปลาย่างข้าวจี่ ผัดหอยและมีผู้ปกครองอาสามาช่วยดูแลในการทำกิจกรรมร่วมกัน และ ทั้งร่วมกันสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7 ค่ะ

    ตอบลบ