เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

week1



              เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และอภิปรายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจและเลือกหน่วยการเรียนรู้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
27-31 ต.ค.
2557
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key  Question
- นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ “ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร”?
- นักเรียนคิดว่าทำไมเราต้องปลูกผักไว้บริโภคเอง?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
Think  Pair Share : เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Card and Chart : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share : ชื่อหน่วย
Mind  Mapping : ก่อนการเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ครูออกแบบกิจกรรมในการสร้างแรงบันดาลใจ)
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “ ผักปลอดสารพิษ ”
- บริเวณโรงเรียน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร

วันจันทร์
ชง
 ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “ ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร ”และกระตุ้นด้วยคำถาม “ ดูคลิปวีดีโอเรื่องปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพรแล้วรู้สึกอย่างไร ? ”
เชื่อม
-  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง  พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากการดู,รู้สึกอย่างไร และได้เรียนรู้อะไรจากการดู ”
-  นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ “ ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร ”โดยใช้เครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
นักเรียนวาดภาพพืชผักในท้องถิ่น ที่รู้จัก เช่น แมงลัก  ผักแว่น  ตำลึง  สะระแหน่  ฯลฯ
วันอังคาร
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจพืชผักในโรงเรียน แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “ นักเรียนรู้จักพืชผักอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร ผักชนิดนี้ที่บ้านนักเรียนมีไหม นำไว้ประกอบอาหารอะไร? ”
- ครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ เช่น ดิน เมล็ดผักชนิด
ชนิดต่างๆ เพื่อที่จะทดลองปลูกพืชผักในท้องถิ่นลงในบ่อปูนซีเมนต์  
เชื่อม
   นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปลูกพืชผักในพื้นถิ่น ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
- จะปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกันได้หรือไม่เพราะเหตุใด?
-  นักเรียนจะสร้างแหล่งอาหารได้อย่างไร ?
-  นักเรียนจะมีวิธีปรุงดินอย่างไร ให้พืชผักเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่ส่งผลเสียต่อธรรมชาติ ?
ใช้
นักเรียนลงมือปลูกผักพื้นถิ่นตามที่วางแผนไว้ บริเวณข้างอาคารประถมฯ
วันพุธ
ชง 
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร ลาบหมาน้อยและตำเมี่ยงข่า โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย ”
เชื่อม 
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับ” ลาบหมาน้อยและตำเมี่ยงข่า ” (Round Robin)
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับหัวข้อหน่วยและตั้งชื่อหน่วย โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่อง
อะไร ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น ? ”
ใช้ 
- นักเรียนลงมือทำอาหารเกี่ยวกับลาบหมาน้อยและตำเมี่ยงข่า
- นักเรียนเลือกหัวข้อหน่วยและตั้งชื่อหน่วย โดยใช้เครื่องมือคิด(Think  Pair Share)
วันพฤหัสบดี
ชง 
ครูทบทวนกิจกรรมของวันที่ผ่านมา  แล้วกระตุ้นด้วยคำถามดังต่อไปนี้
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับของกินพื้นถิ่น ?
- นักเรียนจะตั้งคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับของกินพื้นถิ่น อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้ ?
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้ว และคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard  Share)
ใช้
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนร่วมกันติดชิ้นงาน และตกแต่งระบายสีชาร์ตสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้หน่วย Tasty  Local  Foods
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “ นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วย  Tasty  Local  Foods ก่อนเรียนรู้อย่างไรบ้าง ? ”
เชื่อม

-  นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความเข้าใจก่อนการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิด  ( Blackboard  Share)
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
- นักเรียนสรุปความเข้าใจก่อนเรียนเป็น
 Mind Mapping            
-  นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และเพิ่มเติมชิ้นงานซึ่งกันและกัน
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1


ชิ้นงาน
- ภาพวาดพืชผักในท้องถิ่น
- ชื่อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
- Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ที่ 1
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นจากการดูคลิปวีดีโอ“ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร”
- พูดคุยอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
-  การออกแบบเมนูอาหาร
ความรู้ :
สามารถแสดงความคิดเห็น และอภิปรายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจและเลือกหน่วยการเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารเช่น    ลาบหมาน้อย  ตำเมี่ยงข่าได้
- สามารถสังเกต  สำรวจ  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักอาหารพื้นถิ่นในโรงเรียนและชุมชน
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเลือกหัวข้อที่อยากเรียนรู้
ทักษะการคิด
 - สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน

 







2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ในสัปดาห์นี้คุณครูได้สร้างฉันทะให้นักเรียนอยากเรียนรู้ โดยการดูคลิปวีดีโอ “ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร”แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่อหลังจากดูเสร็จ “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง และรู้สึกอย่างไร” นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูในคลิปวีดีโอ วันต่อมาครูพานักเรียนเดินสำรวจพืชผักในโรงเรียน ระหว่างที่เดินครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักพืชผักอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร นักเรียนทุกคนช่วยกันตอบคำถามเช่น พี่แอ๋ม : พริกขี้หนู ให้รสชาติเผ็ด พี่มาย : ใบชะพลู แก้ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด ขับลม พี่นิว : ผักชีช้าง นำไปดับกลิ่นคาว พี่ชนม์ : ชะอม นำไปประกอบอาหารได้ เช่น แกงส้มชะอม ไข่เจียมชะอม เป็นต้น จากนั้นนักเรียนเลือกเรื่องที่จะเรียนใน Quarter 3 นักเรียนทุกคนช่วยกันนำเสนอมีดังนี้ ผักพื้นบ้าน , อาหารอาเซียน , พืช ผักในท้องถิ่น , IT และ เกษตรผสมผสาน นักเรียนช่วยกันเลือกหน่วยที่จะเรียนรู้ได้แก่ พืช ผักในท้องถิ่น และทุกคนได้ตั้งชื่อหน่วยว่า Tasty Local Foods วันต่อมานักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้ เช่น สิ่งที่รู้แล้ว : รู้ว่าผักชะอมมีลักษณะใบเล็กและมีหนาม , รู้ว่าตะไคร้นำมาทำน้ำสมุนไพรได้ , รู้ว่าแตงกวาทำเป็นตำแตงและแกงจืด , รู้ว่างูนำมาทำเป็นอาหารได้ เช่น พัดเพ็ด , นกสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ , รู้ว่าใบมะยมกินกับส้มตำได้ , รู้ว่าแมงงวงช้างนำมาเผากินได้ , รู้ว่าฟักแฟงนำมาทำไส้ขนมและทำอาหารได้ สิ่งที่อยากเรียนรู้ : เราจะปลูกผักอย่างไรให้ได้หลากหลายชนิดและเกิดประโยชน์สูงสุด , พืช ผักมีกี่ประเภทอะไรบ้าง , พืช ผักสมุนไพรรักษาโรคอะไรได้บ้าง , สมุนไพรมีโทษหรือไม่อย่างไร , ผักแต่ละประเภทมีประโยชน์อย่างไร , สัตว์ที่กินได้มีกี่ประเภท , ในผักมีวิตามินอะไรบ้าง , ผัก 1 ชนิดสามารถทำเมนูอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ เช่น ดิน เมล็ดผักคนละ 10 ชนิด เพื่อที่จะทดลองปลูกพืชผักในท้องถิ่น วันต่อมาครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเมนูอาหาร หลังจากที่พูดคุยเสร็จได้เลือกเมนูอาหารคือ แกงนางหวานและตำกล้วย นักเรียนทุกคนช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ที่จะประกอบอาหารและลงมือทำด้วยความตั้งใจ สามารถทำงานเป็นทีมและสามัคคีกัน ในวันศุกร์นักเรียนได้สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนในรูปแบบ Mind Mapping และนักเรียนสรุปความเข้าใจหลังการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 ค่ะ

    ตอบลบ