เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

week4


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและตระหนักเห็นคุณค่าอาหารจากพืชผัก  และสามารถประกอบอาหาร เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
17 – 21 พ.ย.
2557

โจทย์ :อาหารจากพืชผัก
Key  Question
นักเรียนคิดว่าพืชผักที่อยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้างและมีวิธีรับประทานอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น

 Wall  Thinking : ชิ้นงาน ออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก
Show and Share :
 ออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการทำอาหารเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ้มรสของพืช  ผักต่างๆ ในโรงเรียน)
- นักเรียน  
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ในชุมชน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร
 

วันจันทร์
ชง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูพานักเรียนเล่นเกมส์ “ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับพืชผักที่อยู่ในท้องถิ่นพร้อมกับบอกสรรพคุณของพืชผัก ” ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
1 นักเรียนมีวิธีการจัดหมวดหมู่พืชผักอย่างไร / เพราะเหตุใด?         2 นักเรียนคิดว่าพืชผักมีสรรพคุณทางยาหรือไม่ / เพราะเหตุใด?
เชื่อม
 ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พืชผักและสรรพคุณของพืชผักในท้องถิ่น
ใช้
 นักเรียนนำเสนอการจัดหมวดหมู่พืชผัก โดยใช้เครื่องมือคิด (Show and Share)
วันอังคาร
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “ นักเรียนจะวางแผนการประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและมีคุณค่าทางอาหาร? ”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักที่จะนำประกอบอาหารเมนูแกงสายบัว , แกงฟัก , หมกหยวกและแกงจืด จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนคิดว่าพืชผักสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้างและมีขั้นตอนการทำอย่างไร? ”
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำพืชผักมาประกอบอาหารต่างๆ พร้อมอธิบายขั้นตอนในการทำ
ใช้
นักเรียนเขียนขั้นตอนการทำอาหารเมนูแกงสายบัว , แกงฟัก , หมกหยวกกล้วยและแกงจืด
วันพุธ
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “นักเรียนจะออกแบบเมนูอาหารอย่างไร ให้ปลอดภัยและน่ารับประทาน?
เชื่อม
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเมนูอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบพืชผักในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร
ใช้
นักเรียนออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก โดยการเขียนสรุปเช่น กระบวนการทำอาหารและวัตถุดิบฯลฯ
วันพฤหัสบดี
ชง 
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย” นักเรียนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม 
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
ใช้
- นักเรียนลงมือทำอาหารแกงสายบัว , แกงฟัก , หมกหยวกกล้วยและแกงจืดเป็นต้น
- นักเรียน ครูและผู้ปกครองร่วมกันรับประทานอาหารที่ทำขึ้นเองทั้ง 4 เมนู
วันศุกร์
ชง
 ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ร่วมกัน  
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin 
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4

ชิ้นงาน
- เขียนขั้นตอนการทำอาหาร
- ออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก
-  สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกไว้
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จักและวิธีรับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับการประกอบอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น
- การออกแบบเมนูอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น
ความรู้ :
เข้าใจและตระหนักเห็นคุณค่าอาหารจากพืชผัก  และสามารถประกอบอาหาร เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารแกงสายบัว  แกงฟัก  หมกหยวกและแกงจืดได้
-  เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นที่ศึกษามากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- สามารถออกแบบคิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวม ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น
- สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและ
น่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น  เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการทำอาหารจากพืชผัก
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.4 ได้นำเสนอการจัดหมวดหมู่พืชผักในท้องถิ่นโดยคุณครูพานักเรียนเล่นเกมส์ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับพืชผักที่อยู่ในท้องถิ่นพร้อมกับบอกสรรพคุณของพืชผัก พี่ๆ ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นและสนุกสนานในการทำกิจกรรม วันต่อมาพี่ๆร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักที่จะนำประกอบเมนูอาหาร โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าพืชผักสามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้างและมีขั้นตอนการทำอย่างไร?” พี่ๆ ทุกคนช่วยกันตอบคำถามพร้อมกับบอกขั้นตอนในการทำอาหาร วันถัดมาครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเมนูอาหาร นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบพืชผักในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ ในการประกอบอาหาร ในสัปดาห์นี้เมนูอาหารคือ แกงสายบัว แกงฟัก หมกหยวกและแกงจืด และมีผู้ปกครองอาสามาช่วยดูแลในการทำกิจกรรมร่วมกัน และ ทั้งร่วมกันสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ