เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)





คำถามหลัก :
             1.นักเรียนจะเลือกสรรอาหารในท้องถิ่นที่มีคุณค่าต่อตัวเราได้อย่างไร?
             2.นักเรียนจะผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในพื้นถิ่นอย่างไร ให้น่ารับประทานและเหมาะสมตามพื้นถิ่นของตนเอง?


ภูมิหลังของปัญหา :

             ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ความสะดวกสบาย  เอื้ออำนวยให้วิถีชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไป  โดยเฉพาะวิถีการกินอยู่  ที่มีอาหารตามร้านสะดวกซื้อ  อำนวยความรวดเร็วให้ทุกคนไม่ต้องประกอบอาหารกินเอง  ไม่ต้องปลูกผัก  ซึ่งส่งผลให้เด็กส่วนมากไม่เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่หลากหลาย  ผลิตอาหารกินองไม่เป็น  ตลอดจนไม่รู้จักแม้กระทั่งพืชผักอาหารพื้นถิ่น  ที่สามารถบริโภคได้  จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น  คุณครูและพี่ๆ ป. 4  จึงสนใจที่จะเรียนรู้หน่วย  ของกินพื้นถิ่น  เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะของการเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดีในการดำรงชีวิตประจำวันต่อตนเองและผู้อื่นสูงสุด

สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับ  หน่วย  :  Tasty  Local  Foods
สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- รู้ว่าผักชะอมมีลักษณะใบเล็กและมีหนามแหลม
-  รู้ว่าตะไคร้นำมาทำน้ำสมุนไพรได้
-  รู้ว่าแตงกวานำมาทำอาหารได้หลากหลายเช่น ตำแตงและแกงจืด
-  รู้ว่างูนำมาทำเป็นอาหารได้  เช่น  พัดเพ็ด
-  นกสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้เช่น ลาบนก
-  รู้ว่าใบมะยมกินกับส้มตำได้
-  รู้ว่าแมงงวงช้างนำมาเผากินได้
-  รู้ว่าฟักแฟงนำมาทำไส้ขนมและทำอาหารได้
-  รู้ว่ามะเขือพวงมีลูกเล็กๆ  แต่ใบมีขนและหนามแหลม
-  รู้ว่าปลาช่อนสามารถนำมาทำอาหารได้เช่น ห่อหมก ต้มยำ
-  รู้ว่ากระเทียมหันเป็นชิ้นแล้วใส่ลงในไข่เจียมได้
-  หนูสามารถทำเป็นอาหารได้  เช่น  ปิ้งหนู 
-  รู้ว่ากิ้งก่าสามารถทำเป็นอาหารได้เช่น ผัดเผ็ด ย่าง
-  รู้ว่าว่านหางจระเข้สามารถแผลและนำมาทำอาหารได้
-  ฟักทองช่วยบำรุงสายตาและมีใยอาหารเยอะ
-  ใบหมาน้อยสามารถทำอาหารได้  เช่น  ลาบหมาน้อย
-  รู้ว่าใบย่านางมีฤทธิ์ปรับสมดุลในร่างกาย
-  รู้ว่าใบกระเพราและโหระพามีลักษณะเหมือนกันแต่กลิ่นไม่เหมือนกัน
-  รู้ว่ามะละกอสามารถนำมาทำอาหารและรับประทานเป็นยาระบายได้
-  รู้ว่าผักบุ้งนาสามารถกินกับส้มตำได้
-  รู้ว่าแมงคามทำเป็นอาหารได้เช่น ทอดแมงคาม
-  รู้ว่าใบบัวบกมีคุณสมบัติแก้ช้ำในได้
-  รู้ว่าผักมีประโยชน์ต่อร่างกายและใยอาหารเยอะ
-  เราจะปลูกผักอย่างไรให้ได้หลากหลายชนิดและเกิดประโยชน์สูงสุด
-  พืชผักมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
-  พืชผักสมุนไพรรักษาโรคอะไรได้บ้าง
-  สมุนไพรมีโทษหรือไม่อย่างไร
-  ผักแต่ละประเภทมีประโยชน์อย่างไร
-  สัตว์ที่กินได้มีกี่ประเภท
-  ในผักมีวิตามินอะไรบ้าง
-  ผัก  1  ชนิดสามารถทำเมนูอะไรได้บ้าง
-  ผักชนิดใดบ้างที่มีฤทธิ์เย็น
-  ในอาหารที่เรากินมีสารอาหารอะไรบ้าง
-  ในเห็ดมีสารอาหารอะไรบ้าง
-  เราจะมีวิธีดูแลพืชผักอย่างไร
-  ผักมีความสำคัญกับคนอย่างไร
-  ผักกับสัตว์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
-   เนื้อสัตว์มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร
-  พืช  ผักมีโครงสร้างอย่างไร
-  เราจะมีวิธีเพาะเมล็ดไม่ให้สูญพันธุ์ได้อย่างไร
-  อาหารของคนคลอดใหม่คืออะไรเพราะเหตุใด
-  เราจะมีวิธีรักษาอาหารไว้กินนานๆ  ได้อย่างไร
-  สัตว์มีโครงสร้างอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าทำไมเราต้องปลูกผักไว้บริโภคเอง
- นักเรียนจะวาง แผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้ได้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
- นักเรียนรู้จักพืชผักท้องถิ่นอะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร
- พืชผักชนิดไหนมีแค่ในชุมชนของเรา
- นักเรียนจะใช้เกณฑ์อย่างไร ในการจำแนก
- นักเรียนคิดว่าพืชผักที่อยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำอะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นที่รู้จักมีสัตว์อะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำอะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าโครงสร้างของพืชผักและสัตว์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- นักเรียนจะมีวิธีการประกอบอาหารจากพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่นให้น่ารับประทานและปลอดภัยอย่างไร
- นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ หน่วย Tasty  Local  Foodsให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร






ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย :“ Tasty  Local  Foods” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ภาคเรียนที่ 2 / 2557 Quarter 3

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษา
ศิลปะ
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- สร้างฉันทะ
- สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้ว/  
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping
ก่อนเรียน


มาตรฐาน ว 8.1
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นของเรื่องหรือสถานการณ์ที่จะศึกษารวมทั้งปัญหาที่อยากแก้ไขตามความสนใจ
(ว 8.1 .4/1)
- ออกแบบวางแผนการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าเสนอวิธีสำรวจตรวจสอบสิ่งที่อยากเรียนรู้
(ว 8.1 .4/2)
- บันทึกข้อมูลจากการเดินสำรวจพืชผักในโรงเรียนและนำเสนอผลสำรวจได้
(ว 8.1 .4/4)
- สร้างคำถามใหม่ จากสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นของปัญหาที่อยากแก้ไข(ว 8.1 .4/5)
- นำเสนอผลงานการเขียนสรุปปัญหา สิ่งที่อยากเรียนรู้ ปฏิทินให้ผู้อื่นเข้าใจได้                   (ว 8.1 .4/8)

















 
มาตรฐาน ส 1.1
แสดงออกถึงการชื่นชมในความสามารถและชิ้นงานของเพื่อนที่ทำได้ดีแล้ว
 (ส 1.1 . 4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
- เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีระหว่างการร่วมกิจกรรมได้                        
 (ส  2.1 . 4/1-2)
- สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสันติสุขระหว่างการเรียนรู้ร่วมกันตลอดจนมีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อุปกรณ์และสีให้กับเพื่อนร่วมกลุ่มได้
(ส 2.1 . 4/5)
มาตรฐาน ส 2.2
 อธิบายบทบาทหน้าที่ของตนเองในกระบวนการเลือกหัวข้อหน่วยได้ (ส 2.2 . 4/2)







มาตรฐาน ส 4.1
- เข้าใจและสามารถนับช่วงเวลาเป็นศตวรรษ/สหัสวรรษและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิต ประจำวันได้
(ส 4.1 ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถอธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติความเป็นมาของมนุษย์กับปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต(ส 4.1 ป.4/2)
มาตรฐาน พ 2.1
แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
(พ 2.1 ป.4/2)


มาตรฐาน ศ 1.1
- สร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของสีวรรณะอุ่นและสีวรรณะเย็นที่มีต่ออารมณ์ของมนุษย์ผ่านการวาดตกแต่งผลงานปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
(1.1.4/2/3)
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สร้างสรรค์ งานวาดภาพระบายสี ตกแต่งชิ้นงานสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งอยากเรียนรู้
( 1.1 .4/5)

มาตรฐาน ง 1.1
- มีทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(1.1 .4/1-2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1.1 .4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด                     
  (1.1 .4/4)


สาระการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์  
สุขศึกษา
ศิลปะ
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- ความสำคัญ / ประเภทของอาหาร
 - วิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิต
กับอาหาร          
- ประเภทของอาหาร
 - อาหารหลัก 5 หมู่
  - อาหารเพื่อสุขภาพ
  - อาหารขยะ
- รสชาติของอาหาร
- แหล่งที่มาของอาหาร
-ธรรมชาติ
       -พืช
      - สัตว์
- การแปรรูปอาหาร
- การสังเคราะห์อาหาร
- อาหารตามฤดู กาลในท้องถิ่น


มาตรฐาน ว1.1
- สามารถอธิบายอาหาร เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตและพัฒนา การด้านต่างๆของมนุษย์                     
  (ว 1.1 ป.4/2)
  - เข้าใจและสามารถอธิบาย น้ำ อาหาร อากาศ  แสงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อกระบวนการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ว 1.1 .4/3)
- เข้าใจและวิเคราะห์สารอาหาร และอภิปรายความจำเป็นที่ร่างกายต้องการสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย  
 (ว 1.1 6/3)
มาตรฐาน ว 1.2
- สำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพที่มีผลต่อต่อการบริโภคของมนุษย์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม    (ว 1.2 3/5)
- อภิปรายผลของเทคโนโลยี ชีวภาพของวัตถุดิบในการประกอบอาหารและผลที่เกิดจากเทคโนโลยีนั้น                  (ว 1.2 3/5)
มาตรฐาน ว 8.1
- บันทึกข้อมูลของอาหารแล้วนำเสนอและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของอาหารได้  (ว 8.1 4/4)
- ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจเกี่ยวกับที่มาของอาหารในท้องถิ่นและเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับอาหาร                            ( ว 8.1 ป.4/5)
- แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารจากแหล่งที่มาต่างๆ และรวบรวมเป็นความรู้ให้คนอื่นเข้าใจ  ( ว 8.1 ป.4/6)


มาตรฐาน ส 1.1
- เข้าใจเห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากศาสนิกชนที่ดีระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนขณะร่วมกิจกรรม        
    (ส 1.1ป.4/3)
- ชื่นชมการทำสิ่งที่ดีของตนเองเห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่นพร้อมทั้งนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน
 (ส1.1ป.4/5)                        



















มาตรฐาน ส 2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ปฏิบัติตามข้อตกลง  กติกาและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติได้
   (ส 2.1 ป.4/1)
 - สามารถปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี (ส 2.1 ป.4/2)
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งมีอำนาจในการตัดสินใจในการทำงานและสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มได้ 
 (ส2.2ป.4/2)                   
- รับฟังความคิดเห็น ความเชื่อและการปฏิบัติตนที่แตกต่างกันของวัฒนธรรมกลุ่มคนในท้องถิ่น  (ส 2.1 ป.4/4)
- สามารถนำเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิติประจำวัน                          
 (ส 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน 3.1
- สามารถระ บุถึงทรัพยากรที่นำมาผลิตเป็นอาหารเพื่อการบริโภคในชีวิต ประจำวันได้                    
  (ส 3.1 4/1)
- สามารถอธิบายหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง(ส 3.1 4/3)
- อธิบายบทบาทของผู้ผลิตอาหารประเภทต่างๆที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค และสังคม                      
 (ส 3.1 6/1)
มาตรฐาน ส 2.2
- สามารถอธิบายแหล่งที่มาของอาหารและความสำคัญของวิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิต
กับอาหาร โดยใช้อำนาจอธิปไตยและความ สำคัญของระบอบประชาธิปไตยได้        
 (ส 2.2 ป.4/1)
- อธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกบริโภคอาหารได้
(ส 2.2 ป.4/2)

มาตรฐาน ส 4.1        
 - สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นที่มาและความ
สำคัญของอาหารโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
(ส 4.1ป.5/1)
- สืบค้นการเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร พฤติกรรมการกินในวิถีชีวิต ประจำวันของคนในชุมชนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (ส  4.1 4/1)
- อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมการกินของคนในชุมชน       (ส 4.1 ป.4/2)      มาตรฐาน ส 4.2
- เข้าใจและสามารถอธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์กับ
ปัจจุบันผ่านการทำอาหารในท้องถิ่น
(ส 4.2ป.4/1)
- สามารถอธิบายผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินของผู้คนในชุมชน
  (ส 4.2 ป.4/2)

มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายคุณลักษณะของความเป็นเพื่อนที่ดีรวมทั้งสามารถปฏิบัติตนเป็นเพื่อน เป็นสมาชิกครอบครัว สมาชิกของสังคมและของโลกที่ดี
(พ 2.1ป.4/1)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมระหว่างการทำงานและการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น                            
 (พ 2.1ป.4/2)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(พ 2.1 ป.4/2)
- สามารถอธิบายและบอกวิธีการดำรงชีวิตในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อตนเอง    (พ 5.1 ป.4/3)
มาตรฐาน พ 4.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของอาหารต่อร่างกาย รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิต
ประจำวัน
(พ  4.1 ป.4/1)
- วิเคราะห์แหล่งที่มาของอาหาร ข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพื่อการเลือกบริโภคที่ถูกต้องตามหลัก โภชนาการ                             (พ 4.1 ป.4/3)
มาตรฐาน ศ 1.1
- เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบลักษณะของรูปร่างรูปทรงในธรรมชาติผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
 (ศ1.1 ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับสีวรรณะเย็นวรรณะอุ่นพร้อมทั้งสามารถนำมาใช้ได้
 (ศ1.1 ป.4/2)
- เข้าใจและสามารถจำแนกทัศนธาตุในศิลปะโดยใช้เส้น สี รูปร่าง รูปทรง ในธรรมชาติและนำมาวาดภาพได้
(ศ1.1 ป.4/3)
- มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การทำงานศิลปะ(ศ1.1 ป.4/4-5)                            
- เข้าใจและสามารถเลือกใช้สีวรรณะต่างๆเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในผลงานได้
(ศ1.1 ป.4/9)

มาตรฐาน ง 1.1
- มีทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(1.1 .4/1)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานอย่างเป็นระบบและสามารถระบุวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสมและประหยัด (ง 1.1 ป.4/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น                             
 (1.1 .4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
(1.1 .4/4)
- เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่
น่าเชื่อถือ รวมทั้งรู้จัก
การสืบค้นจากแหล่งข้อ มูลที่หลากหลาย                        
  (ง 3.1 ป.4/1)
- บอกประโยชน์ของข้อมูลที่หาจากแหล่งต่างๆ และรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับที่มาและความ สำคัญ ของอาหาร                             (ง  3.1 .4/1-2  )   
- เข้าใจกระบวนการทำงานการแปรรูปอาหาร ทำงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยความขยัน อดทน รับผิดชอบและซื่อสัตย์                
 (ง 1.1 ป. 4/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มขณะทำงาน                        
 (ง 1.1 ป. 4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (ง 1.1 ป. 4/4)



สาระการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษา
ศิลปะ
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
-สำรวจพืชผัก / สัตว์ ในท้องถิ่น
-โครงสร้างพืชผักและสัตว์

 มาตรฐาน ว 1.1
- สามารถทดลองและอธิบายหน้าที่ของท่อลำเลียงและปากใบของพืช (ว 1.1 ป.4/1)
- สามารถอธิบายน้ำ  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  แสงและคลอโรฟิลล์เป็นปัจจัยที่จำเป็นบางประการต่อการเจริญเติบโตและสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ว 1.1 ป.4/2)
- สามารถทดลองและอธิบายการตอบสนองของพืชต่อแสง เสียงและการสัมผัส  (ว 1.1 ป.4/3)
- อธิบายพฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง  อุณหภูมิการสัมผัสและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์(ว 1.1 ป.4/4)
- สามารถสังเกตและระบุส่วนประกอบของดอกและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก (ว 1.1 ป.5/1)
- อธิบายการสืบพันธุ์ของพืชดอกการขยายพันธุ์พืชและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์   (ว 1.1 ป.5/2)
- อธิบายวัฏจักรชีวิตของพืชดอกบางชนิด                      
 (ว 1.1 ป.5/3)
- อธิบายการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของสัตว์              
 (ว 1.1 ป.5/4)
- สามารถอภิปรายวัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิดและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  (ว 1.1 ป.5/5)











มาตรฐาน ส 1.1
- เข้าใจเห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากศาสนิกชนที่ดีระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนขณะร่วมกิจกรรม                (ส 1.1ป.4/3)
- ชื่นชมการทำสิ่งที่ดีของตนเองเห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่นพร้อมทั้งนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน                             (ส 1.1ป.4/5)










มาตรฐาน ส 2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ปฏิบัติตามข้อตกลง  กติกาและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติได้   (ส 2.1 ป.4/1)
 - สามารถปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี     (ส 2.1 ป.4/2)
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งมีอำนาจในการตัดสินใจในการทำงานและสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มได้                                    (ส 2.2ป.4/2)                   
- รับฟังความคิดเห็น ความเชื่อและการปฏิบัติตนที่แตกต่างกันของวัฒนธรรมกลุ่มคนในท้องถิ่น                    
 (ส 2.1 ป.4/4)
- สามารถนำเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิติประจำวัน                               
 (ส 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.2
- อธิบายโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น โดยใช้อำนาจอธิปไตยและความ สำคัญของระบอบประชาธิปไตยได้    
 (ส 2.2 ป.4/1)
- สามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกหัวข้อนำเสนอโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นได้ (ส 2.2 ป.4/2)



มาตรฐาน ส 4.1
- สามารถแยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของพืช สัตว์ในท้องถิ่น(ส 4.1 ป.4/3)
- สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นที่มาและความ
สำคัญของพืชและสัตว์โดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
(ส 4.1 ป.5/1)
มาตรฐาน ส 4.2
- เข้าใจและสามารถอธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์กับ
ปัจจุบันผ่านการทำอาหารจากพืชและสัตว์ในท้องถิ่น
(ส 4.2 ป.4/1)
- สามารถอธิบายผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินของผู้คนในชุมชน 
 (ส 4.2 ป.4/2)

มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายคุณลักษณะของความเป็นเพื่อนที่ดีรวมทั้งสามารถปฏิบัติตนเป็นเพื่อน เป็นสมาชิกครอบครัว สมาชิกของสังคมและของโลกที่ดี
(พ 2.1ป.4/1)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมระหว่างการทำงานและการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น                          
 (พ 2.1ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างการทำงานร่วมกันได้อย่างมีเหตุมีผล(พ 2.1ป.5/3)
- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น
 (พ 2.1ป.6/1)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(พ 2.1 ป.4/2)
- สามารถอธิบายและสำรวจพืช / สัตว์อยู่ในท้องถิ่นให้ผู้อื่นเข้าใจได้(พ 5.1 ป.4/3)
มาตรฐาน พ 4.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายโครงสร้างพืชและสัตว์ที่ประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน                              
  (พ 4.1 ป.4/1)
- วิเคราะห์โครงสร้างของพืชและสัตว์ เพื่อการเลือกบริโภคที่ถูกต้องตามหลัก โภชนาการ                          (พ 4.1 ป.4/3)

มาตรฐาน ศ 1.1
- เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบลักษณะของรูปร่างรูปทรงในธรรมชาติผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานสองและสามมิติ
(ศ 1.1 ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับสีวรรณะเย็นวรรณะอุ่นพร้อมทั้งสามารถนำมาใช้ได้
 (ศ 1.1 ป.4/2)
- มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การทำงานศิลปะและการออกแบบ  (ศ 1.1 ป.4/4-5)
- เข้าใจและสามารถวาดภาพเพื่อสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับโครงสร้างพืชและสัตว์ทั้งสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ                            (ศ 1.1 ป.4/8)

มาตรฐาน ง 1.1
- มีทักษะในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนและอธิบายเหตุผลในการทำงานได้
(1.1 .4/1-2)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานอย่างเป็นระบบและสามารถระบุวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างเหมาะสมและประหยัด                   (ง 1.1 ป.4/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น                   
    (1.1 .4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
(1.1 .4/4)
- เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่
น่าเชื่อถือ รวมทั้งรู้จักการสืบค้นจาก
แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย                          (ง 3.1 ป.4/1)
- บอกประโยชน์ของข้อมูลที่หาจากแหล่งต่างๆ และรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสำรวจและโครงสร้างพืชและสัตว์ในท้องถิ่น                              (ง  3.1 .4/1-2  )   
- เข้าใจโครงสร้างการทำงานของพืชและสัตว์ของเป้าหมายที่วางไว้ด้วยความขยัน อดทน รับผิดชอบและซื่อสัตย์               
    (ง 1.1 ป. 4/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มขณะทำงาน 
 (ง 1.1 ป. 4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด                                (ง 1.1 ป. 4/4)


สาระการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษา
ศิลปะ
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
-ข้อดี / ข้อเสียของอาหารต่อร่างกาย
-การเลือกซื้อและการเลือกบริโภคอาหาร
-การดูแลร่างกาย
    - การออกกำลังกาย
    - การพักผ่อน
- การรับประทานอาหาร
 มาตรฐาน ว 1.1
- อธิบายความสัมพันธ์และการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบการลำเลียงอาหารและระบบขับถ่ายของเสียของมนุษย์                            (ว.1.1 .6/2)
- วิเคราะห์สารอาหารและอภิปรายความจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย   (ว.1.1 6/3)
- บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจ ประโยชน์และโทษจากการรับประทานอาหาร รวมทั้งการเลือกซื้อและเลือกบริโภคอาหาร            (ว8.1 4/7)
- นำเสนอและอธิบายแนวคิดของชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ว8.1 ป.4/8)   





มาตรฐาน ส 2.1
- สามารถปฏิบัติตนในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม     (ส2.1 4/2)
-ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการเพื่อการบริโภคในชีวิต ประจำวัน   
(ส 3.1 ป.4/1)
- บอกสิทธิขั้นพื้นฐานและการรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะผู้บริโภค  (ส 3.1 4/2)
มาตรฐาน 3.1
- สามารถระ บุถึงทรัพยากรที่นำมาผลิตเป็นอาหารเพื่อการการบริโภคในชีวิตประจำวันได้                           (ส 3.1 4/1)
- สามารถอธิบายหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง (ส3.1 4/3)
-อธิบายบทบาทของผู้ผลิตอาหารประเภทต่างๆที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค และสังคม  (ส 3.1 6/1)






มาตรฐาน ส 2.1
- สามารถปฏิบัติตนและในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีได้ (ส 2.1 ป.4/2)
- สามารถนำเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวันได้         (ส 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.1
- อธิบายอำนาจอธิปไตยและความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยได้    (ส 2.2 ป.4/1)
- สามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกหัวข้อหน่วยได้
(ส 2.2 ป.4/2)



มาตรฐาน ส 4.1
-สามารถสืบค้นถึงที่มาของประโยชน์และโทษของอาหารและผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตประจำวันของคนในชุมชุม(ส4.1ป.5/1)
-สืบค้นการเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร พฤติกรรมการกินในวิถีชีวิต ประจำวันของคนในชุมชนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (ส4.2 4/1)
-อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมการกินของคนในชุมชน  (ส 4.2 ป.4/2)
- ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีสุขภาพดี ทั้งกายและใจ และเชื่อมโยงการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ                        (ส.4.2 ป.4/1)
มาตรฐาน พ 1.1
-อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายและจิตใจ
(พ 1.1ป.4/1)
-อธิบายความสำคัญของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายที่มีผลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต (พ 1.1ป.5/1)
-อธิบายประโยชน์ของอาหารที่มีผลต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้สามารถทำงานได้ตามปกติ  (พ 1.1ป.5/1)

มาตรฐาน ศ 1.1
-มีทักษะพื้นฐานใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้าง สรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม      (ศ 1.1 4/4)
-เปรียบเทียบความคิด  ความรู้สึกที่ถ่ายทอดผ่านงานทัศนศิลป์ของตนเองและบุคคลอื่น   
 (ศ1.1 ป.4/7)
-เลือกใช้วรรณะสีเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการสร้างงานทัศนศิลป์เกี่ยวกับ  โทษ การเลือกซื้อเลือกบริโภคอาหารในรูปแบบต่างๆได้                           (ศ1.1 ป.4/8)

มาตรฐาน ง 1.1
- สามารถอธิบายเหตุผลในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองได้     (ง 1.1 ป. 4/1)
- เข้าใจกระบวนการ ทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยความขยัน อดทน รับผิดชอบและซื่อสัตย์  
 (ง 1.1 ป. 4/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มขณะทำงาน                 (ง 1.1 ป. 4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด                              (ง 1.1 ป. 4/4)
มาตรฐาน ง 3.1
-สามารถบอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์  เทคโนโลยี  สารสนเทศ รวมทั้งรู้จักการสืบค้นจากแหล่ง ข้อมูลที่หลากหลาย 
(ง 3.1 ป.4/1)














สาระการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษา
ศิลปะ
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- กระบวนการผลิต
 - ออกแบบเมนูอาหารจากพืชและสัตว์ในท้องถิ่น
- ลงมือทำอาหาร / ถนอม
( การเชื่อม, การแช่อิ่ม ,ตากแห้ง)
- การผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหาร
มาตรฐาน ว 2.2
- อภิปรายและนำเสนอการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาเป็นอาหารได้  อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ              (ว2.2ป.6/3)                           
- วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติที่นำมาเป็นอาหาร ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง             
 (ว 2.2 3/4)
มาตรฐาน ว 8.1
- เข้าใจและสามารถสร้างคำถามใหม่เพื่อการออกแบบเมนูอาหารและทดลองทำ อาหารจากพืชและสัตว์ในท้องถิ่น                      
 (8.1ป.4/5 )
- เข้าใจและสามารถสรุปเกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้
(8.1ป.4/6 )
- เข้าใจและสามารถบันทึกเกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารอย่างตรงไปตรงมา (8.1ป.4/6 )
-ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและถูกหลักโภชนาการในการทำอาหารและการถนอมอาหาร (ว 8.1 ป.4/3)
- นำเสนอจัดแสดงผลงานด้วยวาจา และเขียน ให้ผู้อื่นเข้าใจได้                             (8.1ป.4/8)
มาตรฐาน ส 1.1
 เข้าใจเห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากศาสนิกชนที่ดีระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนขณะร่วมกิจกรรมและอยู่ร่วมกัน
 (ส 1.1ป.4/3)
มาตรฐาน ส 3.1
- สามารถบอกที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว                     
 (ส 3.14/2)
-บันทึกรายรับรายจ่ายของตนเองในแต่และวันแล้ววิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเอง      (ส 3.1 ป.4/2)
-สรุปผลดีของการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้และการออม  
 (ส 3.1 ป.4/3)















มาตรฐาน ส 2.1
- สามารถปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในกระบวนการผลิตและออกแบบเมนู อาหารได้
 (ส 2.1 ป.4/2)
- สามารถนำเสนอกระบวนการผลิตและการผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้         
 (ส 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.2
 สามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกออกแบบเมนูจากพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นได้       
(ส 2.2 ป.4/2)



มาตรฐาน ส 4.2
- เข้าใจและสามารถอธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์กับ
ปัจจุบันในการผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหาร
 (ส 4.2ป.4/1)
- สามารถศึกษาค้นคว้าสืบค้นที่มาและความ
สำคัญของอาหารโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย
(ส 4.2ป.5/1)
- สามารถอธิบายผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินของผู้คนในชุมชน    
 (ส 4.2 ป.5/2)

มาตรฐาน พ 2.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายคุณลักษณะของความเป็นเพื่อนที่ดีรวมทั้งสามารถปฏิบัติตนเป็นเพื่อน เป็นสมาชิกครอบครัว สมาชิกของสังคมและของโลกที่ดี
 (พ 2.1ป.4/1)
- มีพฤติกรรมที่เหมาะ สมกับเพศและวัยมีทัศนะคติและสัมพันธภาพที่ดีและ สามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข                           
 (พ 2.14/1-4)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมระหว่างการทำงานและการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
(พ 2.1ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างการทำงานร่วมกันได้อย่างมีเหตุมีผล   (พ 2.1ป.5/3)










มาตรฐาน ศ 1.1
- เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบลักษณะของรูปร่างรูปทรงในธรรมชาติผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานสองและสามมิติ
(ศ 1.1 ป.4/1)
- เข้าใจและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับสีวรรณะเย็นวรรณะอุ่นพร้อมทั้งสามารถนำมาใช้ได้
 (ศ 1.1 ป.4/2)
- มีทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การทำงานศิลปะและการออกแบบ   
(ศ 1.1 ป.4/4-5)
- เข้าใจและสามารถเลือกใช้สีวรรณะต่างๆได้  (ศ 1.1 ป.4/9)
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายเหตุผลในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองได้                                      (ง 1.1 ป. 4/1)
- ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวน การ ทำงาน  ด้วยความสะอาดประหยัด รอบคอบและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ 
   (ง 1.1.4/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มขณะทำงาน                         
   (ง 1.1 ป. 4/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูง (ง 1.1 ป. 4/4)
- บอกประโยชน์และหน้าที่การใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม                                 
 (ง 2.1 ป.4/1)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษา
ศิลปะ
การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- การสรุปองค์ความรู้
   - สิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนา
   - สรุปองค์ความรู้หลังเรียน

มาตรฐาน ว8.1
- ตั้งคำถามและหาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับอาหารผ่านการทำชิ้นงานแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนศึกษา          (ว 8.1 ป.4/1)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบนำเสนอผลการเรียนรู้โดยการแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งสามารถระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรปรับปรุงได้                            (ว 8.1.4/4-6)
- สร้างคำถามใหม่และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ค้นคว้า  
  (8.1ป.4/5-6)
- บันทึกและอธิบายผลจากการศึกษาค้นคว้า โดยสรุปองค์ความรู้ตามรูปแบบ Mind mapping หรือรูปแบบอื่น แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้  (ว 8.1 ป.4/7-8)
- นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ                   
  (ว 8.1 .6/8)

มาตรฐาน ส 2.1
- เคารพสิทธิของตนเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ
(ส 2.1 ป. 4/2)
- สามารถยอมรับความคิดเห็น และการปฏิบัติที่แตกต่างของบุคคลอื่น
 (ส 2.1 ป. 4/4)
มาตรฐาน ส 2.2
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง  สามารถยอมรับและปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองได้                (ส 2.2 ป. 4/2)
มาตรฐาน ส 3.1
 - ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน (ส 3.1 ป.5/2)
- บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
(ส 3.1 ป.6/3)
มาตรฐาน ส 3.2
อธิบายความสัมพันธ์ของอาหารท้องถิ่นที่มีผลต่อเศรษฐกิจของคนในชุมชน(ส 3.2 ป.4/1)
มาตรฐาน ส 5.2
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของประชากรในภูมิภาค   (ส 5.2 ป.5/1)

มาตรฐาน ส 2.1 สามารถนำเสนอวิธีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวันได้     (ส 2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ส 2.2
สามารถอธิบายสรุปองค์ความรู้ในกระบวนการได้                   
 (ส 2.2 ป.4/2)



มาตรฐาน ส 4.1
- สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีผลต่อวิถีชีวิตการบริโภค พฤติกรรมการกิน ปัญหาความขัดแย้งและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนอาหารในอนาคตได้อย่างเป็นระบบ
(ส 4.1ป.4/2)
มาตรฐาน ส 4.3
- นำทรัพยากรในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร เห็นคุณค่าของอาหารและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของอาหารต่อชีวิตและสิ่งมีชีวิตในอนาคต
- แนวโน้มความน่าจะเป็น เกี่ยวกับปริมาณและความต้องการอาหารในอนาคต
 (ภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร ,วิถีการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในภาวะ การขาดอาหาร)
(ส 4.3 .4/2)

มาตรฐาน พ 2.1
- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น
 (พ 2.1ป.6/1)
- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(พ 2.1ป.4/2)
มาตรฐาน พ 3.1
สามารถใช้ทักษะการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางบทบาทสมมุติเพื่อสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
(พ 3.1ป.5/1)

มาตรฐาน ศ 1.1
- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์ภาพระบายสีเกี่ยวกับการสรุปองค์ความรู้หลังเรียนโครงงาน
(ศ 1.1 ป.4/4)
- วาดภาพระบายสีโดยใช้สีวรรณะอุ่นและเย็นถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ
 (ศ 1.1 ป.4/7)
มาตรฐาน ศ 2.1
 มีมารยาทในการนำเสนองานและการเป็นผู้ชมที่ดี              (ศ2.1 ป.4/5)
มาตรฐาน ง 1.1
-ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีความรับผิดชอบ
(ง 1.1 ป.4/2-3)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานอย่างเป็นระบบประณีตและมีความคิดสร้างสรรค์    (ง 1.1 ป.5/2)
- มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า  (ง 1.1 ป.5/4)
มาตรฐาน ง 2.1
- มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่ได้ดูได้ฟัง และได้เห็นไปถ่ายทอดเป็นชิ้นงานได้
(ง 2.1 ป.4/4)
- สามารถอธิบายความหมายและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี                           (ง 2.1 ป.5/1)
- นำความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงานไปใช้ประยุกต์สร้างสิ่งของเครื่องใช้ (ง 2.1 ป.5/3)
- เลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ต่อชีวิต สังคม และมีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่  (ง 2.1 ป.5/5)
มาตรฐานง 3.1
สามารถค้นหารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ประเภท ของการทำแอนนิเมชันจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์                (ง 3.1 ป.5/1)



 ปฏิทินการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ  PBL (Problem Based Learning)
หน่วย :  Tasty  Local  Foods
ระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4  Quarter 3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
27-31 ต.ค.
2557
โจทย์ :   เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key  Question
- นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ “ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร”?
- นักเรียนคิดว่าทำไมเราต้องปลูกผักไว้บริโภคเอง?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
Think  Pair Share : เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Card and Chart : สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share : ชื่อหน่วย
Mind  Mapping : ก่อนการเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอชิ้นงานสรุป
การเรียนรู้รายสัปดาห์ที่1
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “ผักปลอดสารพิษ”
- บริเวณโรงเรียน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร
-   ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร”และกระตุ้นด้วยคำถาม “ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพรและรู้สึกอย่างไร ?”
- นักเรียนวาดภาพพืชผักในท้องถิ่น ที่รู้จัก เช่น แมงลัก  ผักแว่น  ตำลึง  สะระแหน่  ฯลฯ
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจพืชผักในโรงเรียน แล้วกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “นักเรียนรู้จักพืชผักอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร ผักชนิดนี้ที่บ้านนักเรียนมีไหม นำไว้ประกอบอาหารอะไร?”
- นักเรียนเลือกหัวข้อหน่วยและตั้งชื่อหน่วย
- ครูให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ เช่น ดิน เมล็ดผักชนิดต่างๆ เพื่อที่จะทดลองปลูกพืชผักในท้องถิ่น 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร ลาบหมาน้อยและตำเมี่ยงข่าโดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย”
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- นักเรียนจะตั้งคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับ ของกินท้องถิ่น อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้ ?
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนร่วมกันติดชิ้นงาน และตกแต่งระบายสีชาร์ตสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้หน่วย Tasty  Local  Foods
-  นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความเข้าใจก่อนการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิด ( Blackboard  Share)
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin 
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ชิ้นงาน
- ภาพวาดพืชผักในท้องถิ่น
- ชื่อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
- Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ที่ 1
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นจากการดูคลิปวีดีโอ“ปลูกผักกินเองและแนะนำพืชผักสมุนไพร”
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
-  การออกแบบเมนูอาหาร
ความรู้ :
สามารถแสดงความคิดเห็น และอภิปรายสิ่งที่ตนเองรู้และอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจและเลือกหน่วยการเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารลาบหมาน้อยตำเมี่ยงข่าได้
- สามารถสังเกต  สำรวจ  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักอาหารท้องถิ่นในโรงเรียนและชุมชน
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้
ทักษะการคิด
 - สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
2
3 – 7 พ.ย.
2557

โจทย์ :กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
Key  Question
 นักเรียนจะวาง แผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้ได้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
เครื่องมือคิด
Round Robin  : การทำปฏิทินการเรียนรู้ Quarter ที่ 3
Blackboard  Share : หัวข้อเรื่องที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
 Wall  Thinking : ปฏิทินการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter 3  นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในประเด็นของหัวข้อเรื่องต่างๆ ที่มาจากคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ของทุกคน  ( Blackboard  Share)
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ร่วมกัน (
Round Robin)
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอปฏิทินของกลุ่มเป็นรายสัปดาห์ (
Show and Share)
- นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของเรื่องที่จะเรียนรู้และวางแผนปฏิทินห้องร่วมกัน (
Round Robin)
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ร่วมกัน
ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin) 
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- บันทึกการเจริญเติบโตของพืชผัก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ภาระงาน
การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้หน่วย “Tasty  Local  Foods

ความรู้ :
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน  รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม ทำปฏิทินการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3
10 – 14 พ.ย.
2557

โจทย์ :สำรวจพืชผัก  ประเภท / แหล่งที่มา
Key  Question
- นักเรียนรู้จักพืชผักท้องถิ่นอะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร?
- พืชผักชนิดไหนมีแค่ในชุมชนของเรา?
- นักเรียนจะใช้เกณฑ์อย่างไร ในการจำแนกพืชผักในท้องถิ่น?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจพืชผักในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก
และวิธีรับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
Walk  and  Talk : เดินสำรวจโรงเรียน
 Wall  Thinking : ชิ้นงาน  แบบสำรวจพืชผัก
Show and Share :
แบบสำรวจพืช ผักในโรงเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการเดินสำรวจเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/รสของพืช  ผักต่างๆ ในโรงเรียน)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ในชุมชน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร


- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนเดินสำรวจพืช  ผัก ในโรงเรียน  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับพืช  ผัก ในโรงเรียน “นักเรียนรู้จักพืชผักชนิดใดบ้าง และนำมารับประทานอย่างไร?”
-  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักที่ตนเองสำรวจมา
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดหมวดหมู่และประเภทของพืชผัก แล้วทำชาร์ตสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่น
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักในโรงเรียนและในท้องถิ่น โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าพืชผักแต่ละชนิดมีลักษณะคล้ายกันหรือไม่และมีรสชาติใดบ้าง?”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
- นักเรียนลงมือทำอาหารแกงขี้เหล็ก  หมกหน่อไม้  ขนมหมกและน้ำพริกหนุ่ม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3

ชิ้นงาน
-  แบบสำรวจพืช  ผักอย่างน้อยคนละ 100  ชนิด
-  สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกไว้
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3 
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจพืชผักในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก และวิธีรับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่น
-  การออกแบบเมนูอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น
ความรู้ :
สามารถสำรวจและจำแนกประเภทพืชผักที่มีอยู่ในชุมชนและออกแบบเกณฑ์ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีทักษะในการประกอบอาหารแกงขี้เหล็ก  หมกหน่อไม้  ขนมหมกและน้ำพริกหนุ่มกับผักลวกได้
- สามารถจำแนกประเภทชนิดของพืชผักในท้องถิ่น
-   เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-   สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงพืชผักในที่อยู่ในท้องถิ่น มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
-  สามารถออกแบบคิดวางแผนเกณฑ์ การจัดหมวดหมู่ ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความสำคัญ/ประเภทและแหล่งที่มาของพืชผัก
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญ/ประเภทและแหล่งที่มาของพืชผักเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการทำอาหารจากพืชผัก
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


4
17 – 21 พ.ย.
2557

โจทย์ :อาหารจากพืชผัก
Key  Question
นักเรียนคิดว่าพืชผักที่อยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำอะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นที่
รับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น
 Wall  Thinking : ชิ้นงาน ออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก
Show and Share :
 ออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการทำอาหารเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ่มรสของพืช  ผักต่างๆ ในโรงเรียน)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ในชุมชน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร


- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูพานักเรียนเล่นเกมส์ “ปริศนาคำทายเกี่ยวกับพืชผักที่อยู่ในท้องถิ่นพร้อมกับบอกสรรพคุณของพืชผัก”
- นักเรียนมีวิธีการจัดหมวดหมู่พืชผักอย่างไร  เพราะอะไร? - นักเรียนคิดว่าพืชผักมีสรรพคุณทางยาหรือไม่  เพราะเหตุใด?
-  ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “นักเรียนจะวางแผนประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและมีคุณค่าทางอาหาร?”
-  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเมนูอาหาร
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบพืชผักในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร
- นักเรียนออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก โดยการเขียนสรุปเช่น กระบวนการทำอาหาร  วัตถุดิบฯลฯ
 - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย” นักเรียนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็น
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin 
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ชิ้นงาน
- เขียนขั้นตอนการทำอาหาร
- ออกแบบเมนูอาหารจากพืชผัก
-  สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกไว้
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จักและวิธีรับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับการประกอบอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น
-  การออกแบบเมนูอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น
ความรู้ :
เข้าใจและตระเห็นคุณค่าอาหารจากพืชผัก  และสามารถประกอบอาหาร เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารแกงสายบัว  แกงฟัก  หมกหยวกและแกงจืดได้
-  เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-   สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องอาหารจากพืชผักในท้องถิ่นที่ศึกษามากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
-  สามารถออกแบบคิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวม ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น  เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการทำอาหารจากพืชผัก
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

5
24 – 28 พ.ย.
2557

โจทย์ :สำรวจสัตว์ในท้องถิ่น
Key  Question
นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นที่รู้จักมีสัตว์อะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Rubin  :
 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจสัตว์ในโรงเรียนและในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก
และวิธีรับประทาน เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
Walk  and  Talk : เดินสำรวจโรงเรียน
 Wall  Thinking : ชิ้นงาน  แบบสำรวจสัตว์
Show and Share :
แบบสำรวจสัตว์ในโรงเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการเดินสำรวจเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ่มรสของสัตว์ต่างๆ ในโรงเรียน)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ในชุมชน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร


- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนเดินสำรวจสัตว์ในโรงเรียน  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสัตว์ในโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “นักเรียนจะมีวิธีการจัดหมวดหมู่เกี่ยวกับสัตว์ในท้องถิ่นอย่างไรบ้าง?
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสัตว์ที่ตนเองสำรวจมา
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดหมวดหมู่และประเภทของสัตว์แล้วทำชาร์ตความเข้าใจสัตว์ในท้องถิ่น
- นักเรียนระดมความคิดเห็นตามหมวดหมู่และแยกประเภทสัตว์เพื่อเตรียมนำเสนอให้เพื่อนฟัง
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin 
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ชิ้นงาน
-  แบบสำรวจสัตว์
-  สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกไว้
- ชาร์ตการจัดหมวดหมู่และประเภทของสัตว์ในท้องถิ่น
- อภิธานเกี่ยวกับสัตว์
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจสัตว์ในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก และวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับสัตว์ในท้องถิ่น
-  การออกแบบเมนูอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น
ความรู้ :
เข้าใจและตระเห็นคุณค่าถึงนำสัตว์มาประกอบอาหาร เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-   เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับสัตว์ในท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-   สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องสัตว์ในท้องถิ่นที่ศึกษามากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
-  สามารถออกแบบคิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวม ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความสำคัญ/ประเภทและแหล่งที่มาของสัตว์
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญ/ประเภทและแหล่งที่มาของสัตว์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการทำอาหารจากสัตว์
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

6
1 – 5 ธ.ค.
2557
หมายเหตุ : วันที่ 5 หยุดวันพ่อ
โจทย์ :อาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น
Key  Question
นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้างและนำมารับประทานอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก
และวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
 Wall  Thinking : ชิ้นงาน Popup สัตว์ในท้องถิ่น
Show and Share :
  Popup สัตว์ในท้องถิ่น
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการทำอาหารเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ่มรสของสัตว์ ในท้องถิ่น)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ทุ่งนา
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร


 - ครูให้นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเองอย่างไรบ้าง?
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการทำแปลงผักโดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาในการปลูกผักได้อย่างไร?
-  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อออกไปสำรวจและหาสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจับสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา  เช่น รูปูมีดินก้อนเล็กๆอยู่หน้ารู , เขียดจะอาศัยอยู่ในฟาง เป็นต้น
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหาร เช่น ปูนา ผัก
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับอุปกรณ์คือสัตว์ในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบเตรียมอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ
- นักเรียนลงมือทำอาหารอ่อมปู , แกงปูใส่มะละกอ  ลาบปูและส้มตำปูดอง
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ชิ้นงาน
-  Popup สัตว์ในท้องถิ่น
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จักและวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา
-  การออกแบบเมนูอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น
ความรู้ :
เข้าใจและตระเห็นคุณค่าอาหารจากสัตว์ และวิธีการประกอบอาหาร เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารอ่อมปู,  แกงปูใส่มะละกอ , ลาบปู , ส้มตำปูดองได้
-  เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการทำอาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จักและวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
-   สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่นที่ศึกษามากับการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
-  สามารถออกแบบคิดวางแผนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น
- สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น โดยใช้อินเตอร์เน็ตได้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการประกอบอาหารจากสัตว์ที่มีสัตว์ในท้องถิ่นได้
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
7
8 – 12 ธ.ค.
2557

โจทย์ :
โครงสร้างของพืชผัก /สัตว์
Key  Question
นักเรียนคิดว่าโครงสร้างของพืชผักและสัตว์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้าง
ของพืชผักและสัตว์เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
Wall  Thinking :  โครงสร้างของพืชผักและสัตว์
Show and Share :
 โครงสร้างของพืชผักและสัตว์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการทำอาหารเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ่มรสของสัตว์ ในท้องถิ่น)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
-  กล้องจุลทรรศน์
-  พืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
- ครูให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า  หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
นักเรียนวาดภาพโครงสร้างของพืชผักละสัตว์ในท้องถิ่น
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น  เชื่อมโยงโครงสร้างของสัตว์ โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด สัตว์แต่ละประเภทมีโครงสร้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
- ครูให้นักเรียนนำพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นมาทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน 
- นักเรียนนำสัตว์ที่เตรียมมาประกอบอาหาร
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ
- นักเรียนลงมือทำอาหาร
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
ชิ้นงาน
- วาดภาพโครงสร้างของพืชผักท้องถิ่น
- วาดภาพโครงสร้างของสัตว์ในท้องถิ่น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  7
ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
- การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง โครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
- การประกอบอาหารจากพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
ความรู้ :
เข้าใจ อธิบายถึงโครงสร้างของพืชผัก/ สัตว์ได้และเรียนรู้การนำพืชผัก / สัตว์ในท้องถิ่นมาทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองส่องดูเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับโครงสร้างของพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของพืชผักและสัตว์  เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

8
15 – 19 ธ.ค.
2557

โจทย์ :  การประกอบอาหารพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่น / เปิดบ้านให้พี่ๆ น้องๆได้ชิม
Key  Question
 นักเรียนจะมีวิธีการประกอบอาหารจากพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่นให้น่ารับประทานและปลอดภัยอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ออกแบบเมนูอาหารจากพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่น  เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
Wall  Thinking :   Flow Chart ขั้นตอนการประกอบอาหาร
Show and Share :
 Flow Chart ขั้นตอนการประกอบอาหาร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการทำอาหารเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ่มรสของสัตว์ ในท้องถิ่น)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์การประกอบอาหาร
-  นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-  ครูให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาหารพืชผักและสัตว์ในท้องถิ่น
- นักเรียนออกแบบเมนูอาหารจากพืช ผักและสัตว์ในท้องถิ่น จากนั้นก็นำเสนอเมนูอาหารให้เพื่อนฟัง
- นักเรียนออกแบบเมนูอาหารสลัดผัก  นึ่งไข่ใส่ผัก  เมี่ยงปลาร้า  ตำมะละกอทอด  ข้าวจี่ปลาร้า  ขนมหัวหงอกและข้าวยำ
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์  เพื่อประกอบเมนูอาหารที่ตนเองสนใจ
-  นักเรียนร่วมกันสะท้อนเมนูอาหารที่ทำให้เพื่อนฟัง 
-  ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเลือกเมนูอาหารที่จะเปิดบ้านให้พี่ๆ น้องๆ ได้ชิม
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของวันที่ผ่านมา เกี่ยวกับเมนูอาหารที่นักเรียนได้ทำและได้ขมวดเมนูอาหารดังนี้ สลัดผัก , ข้าวยำ, ตำมะละกอทอด, นึ่งไข่ใส่ผักสมุนไพร, เมี่ยงปลาร้า, ข้าวจี้ปลาร้า, ขนมหัวหงอกเป็นต้น
 - ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ร่วมกัน
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin 
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8






ชิ้นงาน
-   Flow Chart ขั้นตอนการประกอบอาหาร
- ออกแบบเมนูอาหาร
-  สมุดบันทึก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  8
ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับออกแบบเมนูอาหารจากพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่น  
- การศึกษาค้นคว้า  หาข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาหารพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่น
-การประกอบเมนูอาหาร
ความรู้ :
เข้าใจ และสามารถอธิบายถึงวิธีการประกอบอาหารจากพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่น สามารถออกแบบเมนูอาหารด้วยตนเอง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารสลัดผัก  นึ่งไข่ใส่ผัก  เมี่ยงปลาร้า  ตำมะละกอทอด  ข้าวจี่ปลาร้า  ขนมหัวหงอก ข้าวยำได้
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการออกแบบเมนูอาหารและขั้นตอนการประกอบอาหาร
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาหารพืช  ผักและสัตว์ในท้องถิ่น เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

9
22 – 26 ธ.ค.
2557

โจทย์ :
- การตกผลึกความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- นิทรรศการของกินท้องถิ่น
Key  Questions
- นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ หน่วยTasty  Local  Foodsให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผย แพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ หน่วย Tasty  Local  Foods
Round Rubin  :  การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านมา
Mind Mapping :  หลังการเรียนรู้
เครื่องมือคิด
Show and Share :  นำเสนอการประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับหน่วย Tasty  Local  Foods

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
\- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ชิ้นงานตลอดทั้ง Q.3
- อุปกรณ์การประกอบอาหาร

-  นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ศึกษาผ่านมาเกี่ยวกับ  หน่วยTasty  Local  Foodsให้ผู้อื่นรับทราบได้อย่างไร?”
-  ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน หน่วย  Tasty  Local  Foods
-  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “ นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?”
-  นักเรียนสามารถทำอะไรได้ดีแล้วบ้าง และอะไรที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม?
-  นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเขียนประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับหน่วย Tasty  Local  Foodsในครั้งนี้
-  นักเรียนทุกคน Show and Share
นำเสนอการประเมินตนเอง  ให้ครูและเพื่อนๆฟัง
-  นักเรียนร่วมกันจัดนิทรรศการของกินท้องถิ่น
-  นักเรียนแต่ละคนเขียน Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  9

ชิ้นงาน
- Mind Mapping หลังการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9
ภาระงาน
การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ หน่วยTasty  Local  Foodsให้ผู้อื่นเข้าใจ

ความรู้ :
เข้าใจและและสามารถอธิบายเกี่ยวกับความ สำคัญของของกินท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนมาอย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวางแผนให้สรุปกิจกรรมให้ผู้อื่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอดทั้ง Q.3
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับของกินท้องถิ่น  เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น