เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถสำรวจและจำแนกประเภทพืชผักที่มีอยู่ในชุมชนและออกแบบเกณฑ์ได้อย่างสร้างสรรค์
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
10 – 14 พ.ย.
2557

โจทย์ : สำรวจพืชผัก  ประเภท / แหล่งที่มา
Key  Question
- นักเรียนรู้จักพืชผักพื้นถิ่นอะไรบ้างและนำมารับประทานอย่างไร ?
- พืชผักชนิดไหนมีแค่ในชุมชนของเรา ?
- นักเรียนจะใช้เกณฑ์อย่างไร ในการจำแนกพืชผักในท้องถิ่น ?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
     แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจพืชผักในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก
และวิธีรับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
Walk  and  Talk : เดินสำรวจโรงเรียน
 Wall  Thinking : ชิ้นงาน  แบบสำรวจพืชผัก
Show and Share :
แบบสำรวจพืช ผักในโรงเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการเดิน
สำรวจเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ้มรสของพืช  ผักต่างๆ ในโรงเรียน)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ในชุมชน
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร

วันจันทร์
ชง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนเดินสำรวจพืชผักในโรงเรียน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
1 นักเรียนรู้จักพืชผักชนิดใดบ้างและนำมารับประทานอย่างไร?
2  พืชผักแต่ละชนิดมีลักษณะ ความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนเดินสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสำรวจพืชผัก โดยครูใช้เครื่องมือคิด (Walk  and  Talk) ขณะเดินสำรวจโรงเรียนฯ
ใช้
นักเรียนออกแบบทำแบบสำรวจพืชผักอย่างน้อยคนละ 100  ชนิด
วันอังคาร
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “ นักเรียนจะมีวิธีการจัดหมวดหมู่เกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่นอย่างไรบ้างให้เข้าใจง่าย? ”
เชื่อม
-  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักที่ตนเองสำรวจมา
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดหมวดหมู่และประเภทของพืชผัก แล้วทำชาร์ตความเข้าใจพืชผักในท้องถิ่น
-  นักเรียนระดมความคิดเห็นตามหมวดหมู่และแยกประเภทพืชผักเพื่อเตรียมนำเสนอให้เพื่อนฟัง
ใช้
นักเรียนนำเสนอชาร์ตการจัดหมวดหมู่และประเภทของพืชผักในท้องถิ่น ( Show and Share)
วันพุธ
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “นักเรียนคิดว่าพืชผักในท้องถิ่นมีสรรพคุณอย่างไรบ้าง?
เชื่อม 
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักในโรงเรียนและในท้องถิ่น โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนคิดว่าพืชผักชนิดใดบ้างที่รักษาโรคได้? ”
ใช้
- ครูแจกกระดาษให้นักเรียนวาดภาพพืชผัก  พร้อมบอกชื่อ/ลักษณะ/รสชาติและสรรพคุณ 
- นักเรียนทำอภิธานเกี่ยวกับพืชผัก
 วันพฤหัสบดี
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย ” นักเรียนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูแกงขี้เหล็ก  หมกหน่อไม้  ขนมหมกและน้ำพริกหนุ่มกับผักลวก เป็นต้น
เชื่อม 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร  
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำกิจกรรม
ใช้
นักเรียนลงมือทำอาหารแกงขี้เหล็ก  หมกหน่อไม้  ขนมหมกและน้ำพริกหนุ่มกับผักลวก
วันศุกร์
ชง
 ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ร่วมกัน โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการทำอาหารเมื่อวาน ?
- นักเรียนคิดว่าอาหารทั้ง 3 ชนิดสิ่งไหนให้คุณค่ามากที่สุด เพราะเหตุใด ?
- จะทำอย่างไรให้แกงขี้เหล็กไม่ขม ?
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3


ชิ้นงาน
-  แบบสำรวจพืช  ผักอย่างน้อยคนละ 100  ชนิด
-  สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกไว้
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3 
ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสำรวจพืชผักในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก และวิธีรับประทานพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่น
-  การออกแบบเมนูอาหารจากพืชผักในท้องถิ่น
ความรู้ :
สามารถสำรวจและจำแนกประเภทพืชผักที่มีอยู่ในชุมชนและออกแบบเกณฑ์ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารเช่น แกงสายบัว , แกงฟัก , หมกหยวกกล้วยและแกงจืดได้
- สามารถจำแนกประเภทชนิดของพืชผักในท้องถิ่นได้
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับพืชผักในพื้นถิ่นเพื่อนำมาสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงพืชผักในที่อยู่ในท้องถิ่น มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- สามารถออกแบบคิดวางแผนเกณฑ์ การจัดหมวดหมู่ ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความสำคัญ/ประเภทและแหล่งที่มาของพืชผักได้
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญ/ประเภทและแหล่งที่มาของพืชผักเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการทำอาหารจากพืชผัก
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.4 ได้เดินสำรวจพืช ผักที่อยู่ในโรงเรียน โดยคุณครูให้นักเรียนไปสำรวจพืช ผักคนละ 100 ชนิดพร้อมบอกชื่อและวาดภาพประกอบ พี่ๆหลายคนยังไม่รู้จักชื่อผักหลายชนิด เช่น ใบกาบหอย ผักปัง ผักใบบัวบก ผักแว่น ใบแมงลัก ใบโหลพา ใบกระเพรา พี่ๆ บอกว่าผักบางชนิดก็มีลักษณะคล้ายๆ กันแต่มีกลิ่นที่ไม่เหมือนกัน วันอังคารคุณครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับพืช ผัก ที่ตนเองสำรวจมา พี่ๆแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดหมวดหมู่และประเภท ของพืช ผัก ตามความเข้าใจแล้วทำชาร์ตความเข้าใจพืช ผักในท้องถิ่น พี่ๆระดมความคิดเห็นตามหมวดหมู่และแยกประเภทพืช ผัก เพื่อเตรียมนำเสนอให้เพื่อนฟัง วันพุธพี่ๆ ได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืช ผัก ที่ได้ไปสำรวจมา ครูแจกกระดาษให้พี่ๆ วาดภาพพืช ผัก พร้อมบอกชื่อ ลักษณะ ประโยชน์ โทษและสรรพคุณ เพื่อที่จะทำอภิธานเกี่ยวกับพืช ผักในท้องถิ่น วันพฤหัสบดีพี่ๆ ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย” นักเรียนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็น หลังจากนั้น ครูแบ่งกลุ่มเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น การล้างผัก หั่นผัก เตรียมภาชนะ ในการประกอบอาหาร ในสัปดาห์นี้เมนูอาหารคือ แกงขี้เหล็ก หมกหน่อไม้ ขนมหมกและน้ำพริกหนุ่มกับผักลวก และมีผู้ปกครองอาสามาช่วยดูแลในการทำกิจกรรมร่วมกัน ในวันศุกร์พี่ๆ ป. 4 ได้ไปร่วมกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน คุณครูและผู้ปกครองค่ะ

    ตอบลบ