เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

week2


เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน  รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
3 – 7 พ.ย.
2557

โจทย์ : กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
Key  Question
 นักเรียนจะวาง แผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้ได้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
เครื่องมือคิด
Round Robin  : การทำปฏิทินการเรียนรู้ Quarter ที่ 3
Blackboard  Share : หัวข้อเรื่องที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
 Wall  Thinking : ปฏิทินการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter 3)
- นักเรียน (ผู้ร่วมกิจกรรมและออกแบบวางแผน)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน         - คำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร
วันจันทร์
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “ นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter 3 นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
เชื่อม
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในประเด็นของหัวข้อเรื่องต่างๆ ที่มาจากคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ของทุกคน                         ( Blackboard  Share)
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ร่วมกัน (
Round Robin)
ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอปฏิทินของกลุ่มเป็นรายสัปดาห์
(
Show and Share)
วันอังคาร- วันพุธ
เชื่อม
- นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของเรื่องที่จะเรียนรู้และวางแผนปฏิทินห้องร่วมกัน (
Round Robin)
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้
- นักเรียนทุกคนช่วยกันทำปฏิทินของห้องร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่
กันรับผิดชอบ
วันพฤหัสบดี
ชง
ครูพานักเรียนไปสังเกตพืชและผักที่ปลูกไว้ แล้วกระตุ้นด้วยคำถาม ต่อไปนี้
 - นักเรียนสังเกตเห็นอะไร  / พืช ผักอะไรบ้างที่เกิด และไม่เกิด ?
- นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร  ถ้าพืช  ผักของนักเรียนที่ไม่เกิดและนักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดพืชผักพืชผักดังกล่าวจึงไม่เกิด?
เชื่อม
   นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการสังเกตพืชผัก ที่ปลูกไว้บริเวณข้างอาคารประถม
ใช้
นักเรียนบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักลงในสมุดบันทึกและวาดภาพ  พร้อมเขียนอธิบายสะท้อนปัญหาที่พบเจอ
วันศุกร์
ชง
 ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้ร่วมกัน
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin) 
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2


ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- บันทึกการเจริญเติบโตของพืชผัก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ภาระงาน
การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้หน่วย “ Tasty  Local  Foods

ความรู้ :
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน  รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม ทำปฏิทินการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมได้ที่เรียนรู้ได้
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และปฏิทินได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถวางแผนทำชิ้นงานให้สอดคล้องกับเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานในการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆป. 4 ได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ หน่วย : Lasty Local Foods พี่ๆ ทุกคนช่วยกันขมวดสิ่งที่อยากเรียนรู้และเรียงลำดับหัวข้อแต่ละสัปดาห์ หลังจากนั้นครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ร่วมกัน วันต่อมาพี่ๆ ทุกคนช่วยกันคิดเมนูอาหารในท้องถิ่น ได้แก่ ลาบหมาน้อย ตำเมี่ยงข่า และได้เตรียมอุปกรณ์การทำอาหารร่วมกัน หลังจากนั้นก็เริ่มลงมือทำเมนูอาหารที่เลือกไว้ พี่ๆ ทุกคนตั้งใจและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกัน วันต่อมาพี่ๆ ได้ไปสังเกตแปลงผักของตนเองว่ามีผักอะไรเกิดบ้างและผักอะไรที่ยังไม่เกิด แล้วจดบันทึกการเจริญเติบโตของผักแต่ละชนิดและ ทั้งร่วมกันสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ