เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย: "ของกินพื้นถิ่น"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
ตระหนักเห็นคุณค่าของพืช ผักและสัตว์ โดยอธิบายถึงข้อดี ข้อเสียของการบริโภคและสามารถจำแนก ชนิดประเภท รวมทั้งการเลือกบริโภคที่เหมาะสมตลอดจนการออกแบบผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้ที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและตระเห็นคุณค่าอาหารจากสัตว์ และวิธีการประกอบอาหาร เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
1 – 5 ธ.ค.
2557
หมายเหตุ : วันที่ 5 หยุดวันพ่อ
โจทย์ :อาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น
Key  Question
นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้างและมีวิธีรับประทานอย่างไร และจะรู้ได้อย่างไรว่ากินได้หรือไม่ได้?
เครื่องมือคิด
Round Robin  :
 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก
และวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
 Wall  Thinking : ชิ้นงาน Popup สัตว์ในท้องถิ่น
Show and Share :
  Pop up สัตว์ในท้องถิ่น
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู (ออกแบบกิจกรรมการทำอาหารเพื่อให้นักเรียนได้สัมผัส/ลิ่มรสของสัตว์ ในท้องถิ่น)
- นักเรียน
- ผู้ปกครองอาสา  (คำแนะนำ
และดูแลความปลอดภัยในการประกอบอาหาร)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-  สถานที่ในโรงเรียน
- สถานที่ทุ่งนา
-  อุปกรณ์การประกอบอาหาร

วันจันทร์
ชง 
 - ครูให้นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่น
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “ สัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นของนักเรียนมีอะไรบ้างและจะรู้ได้อย่างไรว่ากินได้หรือไม่ได้?
เชื่อม 
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ปูนาสามารถจับได้ง่ายในนาข้าวและนำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น นำปูไปดองไว้ใส่ในส้มตำหรือยำมะม่วง เนื้อใช้ทำลาบปู มันปูใช้ทำปูอ่องเป็นต้น
ใช้
 นักเรียนทำ Pop up สัตว์ในท้องถิ่นที่ตนเองรู้จัก เช่น ปู งู หนู ฯลฯ
วันอังคาร
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “ นักเรียนจะแก้ปัญหาผักไม่โตได้อย่างไร? ”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาในการปลูกผักให้ได้ผลที่ดีมากขึ้น
ใช้
 นักเรียนช่วยกันทำแปลงผักข้างอาคารมัธยมตามที่ทุกคนเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ในการปลูกไม่พอเพียง
วันพุธ
ชง 
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “ นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนามีสัตว์
อะไรบ้างและนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้าง? ”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสัตว์ที่มีอยู่ในทุ่งนาและเมนูที่จะทำได้จากสัตว์ที่หาได้
-  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  5  คน เพื่อออกไปหาสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา โดยมีอุปกรณ์คือ เสียม
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจับสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา  เช่น รูปูมีดินก้อนเล็กๆอยู่หน้ารู  เขียดจะอาศัยอยู่ในฟาง เป็นต้น
ใช้
นักเรียนหาสัตว์ในทุ่งนา เช่น  ปูนา  ปลา  เขียด
วันพฤหัสบดี
ชง 
 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย ” นักเรียนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม 
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบ/อุปกรณ์ในการทำอาหาร เช่น ปูนา,ผัก ,เตรียมภาชนะ,หม้อ ,เตา,ผักชีลาว,หอม,ปลาร้า  เป็นต้น
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบสัตว์ในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากทำ
กิจกรรม
ใช้
- นักเรียนลงมือทำอาหารอ่อมปู , แกงปูใส่มะละกอ ,ลาบปูและส้มตำปูดอง
- ครู นักเรียนและผู้ปกครองร่วมรับประทานอาหารจากเมนู ปู ที่ทำเสร็จ
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นคำถามเกี่ยวกับปัญหา/อุปกรณ์ในการทำอาหาร เช่น ทำไมเวลาทำอาหารจากปู/หอยต้องแช่น้ำค้างคืน ?
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ ผ่านเครื่องมือคิด (Round Robin)
ใช้
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6

ชิ้นงาน
-  Pop up สัตว์ในท้องถิ่น
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำอาหารจากในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จักและวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- การตอบคำถามเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนาที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้
- การออกแบบเมนูอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น
- ทำแปลงผักข้างมัธยม
ความรู้ :
เข้าใจและตระเห็นคุณค่าอาหารจากสัตว์ และวิธีการประกอบอาหาร เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีทักษะในการประกอบอาหารเช่น อ่อมปู,  แกงปูใส่มะละกอ,  ลาบปูและส้มตำปูดองได้
-  เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จักและวิธีรับประทานสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
-   สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่นที่ศึกษามากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนวิธีการจับสัตว์ในทุ่งนา
- สามารถออกแบบคิดวางแผนให้สอดคล้องเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้และรวบรวม ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น
- สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- สามารถสังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาหารจากสัตว์ในท้องถิ่น  เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มในการทำอาหารจากสัตว์
คุณลักษณะ :
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 ธันวาคม 2557 เวลา 16:05

    ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.4 ได้ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่น พร้อมกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่นอย่างไรบ้าง ?” พี่ๆ ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น ปูนาสามารถจับได้ง่ายในนาข้าวและนำไปทำอาหารได้หลายชนิด นำปูไปดองไว้ใส่ในส้มตำหรือยำมะม่วง เนื้อใช้ทำลาบปู มันปูใช้ทำปูอ่อง เป็นต้น จากนั้นพี่ได้ทำ Popup สัตว์ในท้องถิ่น วันต่อมาพี่ๆ ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผักที่ปลูก โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาในการปลูกผักได้อย่างไร?” พี่ๆ ทุกคนช่วยกันตอบ พี่แอ๋ม : เราต้องหาพื้นที่ปลูกที่มีแสงแดด พี่ๆ หลายคนตอบว่า : ข้างอาคารพี่มัธยมมีแปลงนาเราสามารถปลูกผักได้ จากนั้นพี่ๆ ทุกคนช่วยกันทำแปลงผัก วันต่อมาในตอนเช้าพี่ๆ ป.4 ได้ร่วมกิจกรรมเก็บขยะตั้งแต่หน้าโรงเรียนจนไปถึงป่าโคกหีบ พี่ๆ ทุกคนช่วยกันด้วยความสนุกสนานและสามัคคี ตอนบ่ายครูให้พี่ๆ เตรียมอุปกรณ์ในการหาสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนามีสัตว์อะไรบ้าง? ” พี่ออโต้ : มีปูเพราะสัปดาห์ที่แล้วผมเห็นรูอยู่ในทุ่งนา พี่แทน : มีปลาเพราะผมเห็นมีน้ำ พี่นุ่น : มีเขียดและกบ ฯลฯ จากนั้นครูแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน เพื่อออกไปหาสัตว์ที่อยู่ในทุ่งนา วันถัดมาครูและพี่ๆ ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหาร โดยครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะประกอบอาหารอย่างไรให้น่ารับประทานและปลอดภัย” พี่ๆ ทุกคนร่วมยกมือแสดงความคิดเห็นจากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4-5 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มเตรียมวัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ปูนา ผัก เตรียมภาชนะ เป็นต้น พี่ๆ แต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบเมนูอาหารเกี่ยวกับวัตถุดิบสัตว์ในท้องถิ่นและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำอาหาร ในสัปดาห์นี้เมนูอาหารคือ อ่อมปู แกงปูใส่มะละกอ ลาบปู ส้มตำปูดองและมีผู้ปกครองอาสามาช่วยดูแลในการทำกิจกรรมร่วมกัน และ ทั้งร่วมกันสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6 ค่ะ

    ตอบลบ